ประสูติ
 

          พระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่า "สิทธิธัตถะ"  เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ  กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ   ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล  พระราชมารดาทรงพระนามว่า "พระนางสิริมหามายา"  ซึ่งเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุล โกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ
          เจ้าชายสิทธิธัตถะ ประสูติเมื่อ 80 ปีก่อนพุทธศักราช ที่สวนลุมพินีวัน ณ ใต้ต้นสาละนั้น  ซึ่งอยู่ระหว่างพรมแดนกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวะทหะ (ปัจจุบันคือ ต.รุมมินเด ประเทศเนปาล)  ได้มีพราหมณ์ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายสิทธิธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ ถ้าดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ  ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก  แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้นยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธิธัตถะจะเสด็จออกบวชและจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน
          ทันทีที่ประสูติ ทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว  มีดอกบัวผุดรองรับ  ทรงเปล่งพระวาจาว่า "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก  ประเสริฐที่สุดในโลก  การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา"
      วัยเด็ก
          หลังประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์  จึงทรงอยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมีซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา
          ศึกษาเล่าเรียนจนจบระดับสูงของการศึกษาทางโลกในสมัยนั้น คือ ศิลปศาสตร์ถึง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร
          พระบิดาไม่ประสงค์จะให้เจ้าชายสิทธิธัตถะเป็นศาสดาเอก  จึงพยายามให้สิทธิธัตถะพบแต่ความสุขทางโลก เช่น สร้างปราสาท 3 ฤดู และเมื่ออายุ 16 ปี ได้ให้เจ้าชายสิทธธัตถะอภิเษกกับนางพิมพาหรือยโสธรา ผู้เป็นพระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา
          เมื่อมีพระชนมายุ 29 ปี พระนางพิมพาก็ให้ประสูติ ราหุล (บ่วง)
                                
      เสด็จออกผนวช
                                           
          เมื่อทอดพระเนตรเห็นคนแก่  คนเจ็บ  คนตาย  และสมณตามลำดับ  จึงทรงคิดว่าชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น  ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้  จึงเกิดแนวความคิดว่า
          ธรรมดาในโลกนี้มีของคู่กันอยู่  เช่น  มีร้อนก็ต้องมีเย็น  มีทุกข์คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ก็ต้องมีที่สุดทุกข์ คือ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
          ทรงเห็นความสุขทางโลกเป็นเพียงมายา  ความสุขในกามคุณเป็นความสุขจอมปลอม  เป็นเพียงภาพมายาที่ชวนให้หลงว่าเป็นความสุขเท่านั้น  ในความจริงแล้วไม่มีความสุข  ไม่มีความเพลิดเพลินใดที่ไม่มีความทุกข์เจือปน
          วิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ของชีวิตเช่นนี้ได้  หนทางหลุดพ้นจากวัฏสงสารจะต้องสละเพศผู้ครองเรือนเป็นสมณะ

          สิ่งที่ทรงพบเห็นเรียกว่า "เทวทูต (ทูตสวรรค์)" จึงตัดสินพระทัยทรงออกผนวชในวันที่พระราหุลประสูติเล็กน้อย  พระองค์ทรงม้ากัณฐกะออกผนวช  มีนายฉันทะตามเสด็จ  โดยมุ่งตรงไปที่แม่น้ำอโนมานที  ทรงตัดพระเกศา  และเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นผ้ากาสาวพักตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้)  ทรงเปลื้องเครื่องทรงมอบให้นายฉันทะนำกลับพระนคร  การออกบวชครั้งนี้เรียกว่า การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่)
          หลังจากทรงผนวชแล้ว  จึงทรงมุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ เพื่อค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร เมื่อเรียนจบทั้งสองสำนัก (บรรลุณาณชั้นที่แปด) ก็ทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ตามที่มุ่งหวังไว้
          จากนั้นจึงเสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันนี้สถานที่นี้เรียกว่า ดงคศิริ) เมื่อบำเพ็ญทุกรกิริยา โดยขบฟันด้วยฟัน  กลั้นหายใจและอดอาหาร หลังจากทดลองมา 6 ปี ก็ยังไม่พบทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา หันมาบำรุงพระวรกายโดยปกติตามพระราชดำริว่า "เหมือนสายพิณควรจะขึงพอดีจึงจะได้เสียงที่ไพเราะ"  ซึ่งพระอินทร์ได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย  พิณสายหนึ่งขึงไว้ตึงเกินไป พอถูกดีดก็ขาดผึงออกจากกัน  จึงพิจารณาเห็นทางสายกลางว่าเป็นหนทางที่จะนำไปสู่พระโพธิญาณได้
          ระหว่างที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ปัญจะวัคคีย์ (โกญฑัญญะ  วัปปะ  ภัททิยา  มหานามะ  อัสสชิ) มาคอยปรนนิบัติพระองค์โดยหวังว่าจะทรงบรรลุธรรมวิเศษ  เมื่อพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา  ปัญจะวัคคีย์จึงหมดศรัทธา พากันไปอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  เมืองพาราณสี (จ.สารนาถ)

ตรัสรู้

                 

          ขณะมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ในวันที่พระองค์ตรัสรู้  นางสุชาดาได้ถวายข้าวมธุปายาส (หุงด้วยนม) ใต้ต้นไทร  เมื่อเสวยเสร็จแล้วทรงลอยถาดทองในแม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐานเสี่ยงพระบารมีว่า...
          "ถ้าอาตมาจะได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว  ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป... ถาดทองนั้นลอยทวนกระแสน้ำขึ้นไป 1 เส้น แล้วก็จมลงตรงนาคภพพิมานแห่งพญากาฬนาคราช พระองค์ทรงโสมนัสและแน่พระทัยว่าจะได้ตรัสรู้ เป็นพระสัพพัญญูสัมพุทธเจ้า  โดยหาความสงสัยมิได้
          ในเวลาเย็นโสตถิยะให้ถวายหญ้าคา 8 กำมือ ปูลาดเป็นอาสนะ ณ โคนใต้ต้นโพธิ  ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา (ปัจจุบันคือ ต.พุทธคยา ประเทศอินเดีย)
          ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ว่าจะบรรลุโพธิญาณ ประทับหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
          ทรงบรรลุรูปฌาณทั้ง 4 ชั้น แล้ว ใช้สติปัญญาพิจารณาจนเกิดความรู้แจ้ง คือ
          1) เวลาปฐมยาม ทรงได้ปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกชาติได้
          2) เวลามัชณิมยาม ทรงได้จุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุญาณ) คือ รู้เรื่องเกิด - ตายของสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรมที่ตนกระทำไว้
          3) เวลาปัจฉิมยาม ทรงได้ อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะหรือกิเลส หมายถึง ตรัสรู้อริยสัจ 4
          อาสวักขยญาณ ที่ทรงได้ทำให้ทรงพิจารณาถึงขันธ์ 5 และใช่แห่งความเป็นเหตุที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท อันเป็นต้นทางให้เข้าถึงอริยสัจ 4
          เมื่อพระองค์ทรงรู้เห็นแล้ว  จึงละอุปาทานและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ปรินิพพาน

          ก่อนปรินิพพาน 3 เดือน  ทรงปลงอายุสังขาร
          ก่อนปรินิพพาน 1 วัน นายจุนทะถวายสุกรมัททวะ (หมูอ่อน)  เมื่อพระองค์เสวยแล้วประชวรพระอานนท์โกรธ พุทธองค์จึงตรัสว่า
"บิณฑบาตที่มีอานิสงค์ที่สุด มี 2 ประการ คือ เมื่อตถาคต (พุทธองค์)
เสวยบิณฑบาตแล้วตรัสรู..ปรินิพพาน"
          ก่อนปรินิพพานทรงกล่าวพุทธโอวาทว่า
          1) การบูชาพุทธองค์อย่างแท้จริง คือ การปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรม
          2) พุทธศาสนิกชนที่ต้องการเฝ้าพระองค์ควรไปที่ "สังเวชนียสถาน"
          3) การวางตัวของภิกษุต่อสตรีต้องคุมสติอย่าแปรปรวนตามราคะตัณหา
          4) พระบรมสารีริกธาตุเป็นเรื่องของกษัตริย์ (มัลลกษัตริย์) มิใช่กิจของสงฆ์
          5) ความพลัดพรากเป็นธรรมดาของโลก
          6) ธรรมและวินัย  จะเป็นศาสดาแทนพุทธองค์  ทั้งนี้เพราะบุคคลไม่เที่ยงแท้เท่ากับพระธรรมซึ่งเป็นสัจธรรม
          ปัจฉิมสาวก คือ สุภัททะบริพาชก
          ปัจฉิมโอวาท
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เราขอบอกเธอทั้งหลาย สังขารทั้งปวงมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา
พวกเธอจึงทำประโยชน์ตนเอง และประโยชน์ของผู้อื่นให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
(อปปมาเทน  สมปาเทต)
          ปรินิพพาน ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยานของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ
          พระชนมายุ 80 ปี ทรงเทศนาสั่งสอนมาเป็นเวลา 45 ปี

 

 

 

 
 
อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
 

sanook

kapook

mthai

hunsa

teenee

bloggang
          
          

สำนักนายกรัฐมนตรี

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

กระทรวงกลาโหม

กระทรวงการคลัง

กระทรวงการต่างประเทศ

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
 

กระทรวงคมนาคม
 
 

กระทรวงพลังงาน

กระทรวงพาณิชย์

กระทรวงมหาดไทย

กระทรวงยุติธรรม

กระทรวงแรงงาน

กระทรวงวัฒนธรรม

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงสาธารณสุข

กระทรวงอุตสาหกรรม

 
WEB DESIGN BY CORRESPONDENCE : 2011